เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 16. สารีปุตตสุตตนิทเทส
ใดก็ตามที่มิได้เลื่อมใสในพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ ตรัสเรียกว่า ผู้ถือธรรมอื่น
ชนเหล่านั้นพึงถามปัญหากับภิกษุบ้าง พึงยกเรื่องขึ้นด่า บริภาษ แช่ง เสียดสี
เบียดเบียน รังแก กดขี่ ข่มเหง ฆ่า เข่นฆ่า หรือทำการเข่นฆ่า ภิกษุได้เห็น หรือได้
ยินอารมณ์อันน่าหวาดเสียวเป็นอันมากของชนผู้ถือธรรมอื่นเหล่านั้นแล้ว ไม่พึง
หวั่นไหว ไม่พึงสั่นเทา ไม่พึงกระสับกระส่าย ไม่พึงหวาดเสียว ไม่พึงสะดุ้ง ไม่พึง
ครั่นคร้าม ไม่พึงเกรงกลัว ไม่พึงหวาดกลัว ไม่พึงถึงความสะดุ้ง ได้แก่ พึงเป็นผู้ไม่
ขลาด ไม่หวาดเสียว ไม่สะดุ้ง ไม่หนี พึงเป็นผู้ละภัยและความหวาดกลัวได้แล้ว
หมดความขนพองสยองเกล้าอยู่ รวมความว่า ภิกษุไม่พึงหวาดกลัวผู้ถือธรรมอื่น
แม้เห็นอารมณ์น่าหวาดเสียวเป็นอันมากของผู้ถือธรรมอื่นเหล่านั้น
คำว่า อนึ่ง ภิกษุผู้หมั่นแสวงหากุศล พึงปราบปรามอันตรายอื่น ๆ
อธิบายว่า อนึ่ง ยังมีอันตรายอื่น ๆ ที่ภิกษุพึงปราบปราม ครอบงำ กำจัด ขับไล่
ย่ำยีอยู่อีก
คำว่า อันตราย1 ได้แก่ อันตราย 2 อย่าง คือ (1) อันตรายที่ปรากฏ
(2) อันตรายที่ไม่ปรากฏ ... ชื่อว่าอันตราย เพราะเป็นอกุศลธรรมที่อาศัยอยู่ในอัตภาพ
อย่างนี้บ้าง
คำว่า ภิกษุผู้หมั่นแสวงหากุศล อธิบายว่า ภิกษุผู้แสวงหา คือ เสาะหา ค้นหา
การปฏิบัติชอบ การปฏิบัติเหมาะสม การปฏิบัติที่ไม่เป็นข้าศึก การปฏิบัติไม่ผิด
การปฏิบัติที่เอื้อประโยชน์ ... อริยมรรคมีองค์ 8 นิพพาน และปฏิปทาเครื่อง
ดำเนินไปสู่นิพพาน พึงปราบปราม ครอบงำ กำจัด ขับไล่ ย่ำยีอันตราย รวมความว่า
อนึ่ง ภิกษุผู้หมั่นแสวงหากุศล พึงปราบปรามอันตรายอื่น ๆ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มี-
พระภาคจึงตรัสว่า
ภิกษุไม่พึงหวาดกลัวผู้ถือธรรมอื่น
แม้เห็นอารมณ์น่าหวาดเสียวเป็นอันมาก
ของผู้ถือธรรมอื่นเหล่านั้น ก็ไม่พึงหวาดกลัว
อนึ่ง ภิกษุผู้หมั่นแสวงหากุศล พึงปราบปรามอันตรายอื่น ๆ

เชิงอรรถ :
1 อันตราย ดูรายละเอียดข้อ 5/16-21

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :587 }